ทำความรู้จัก Reciprocal Tariffs ของทรัมป์คืออะไร และจะส่งผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจโลก

Published
Share this article:
banner image

ทำความรู้จัก Reciprocal Tariffs ของทรัมป์คืออะไร และจะส่งผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจโลก

สงครามการค้า (Trade War) กลายเป็นประเด็นร้อนในเวทีเศรษฐกิจโลกมาหลายปี โดยเฉพาะในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ผลักดันนโยบายภาษีนำเข้าใหม่ในชื่อ Reciprocal Tariffs เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางแรงสั่นสะเทือนนี้ หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า Recession หรือภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจะกลับมาอีกครั้งหรือไม่? Pi Knowledge จะพาคุณไปเจาะลึกปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากนโยบายนี้กัน

สงครามการค้า คืออะไร และเกี่ยวข้องอะไรกับการขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ?

สงครามการค้า คือ สถานการณ์ที่ประเทศต่าง ๆ ใช้มาตรการทางการค้าตอบโต้กัน เช่น การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า การจำกัดโควตาการส่งออก หรือการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าอื่น ๆ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศของตน

ในกรณีของสหรัฐ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีการเปิดศึกทางการค้ากับหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าหลายรายการ ซึ่งหนึ่งในนโยบายสำคัญที่ใช้คือ Reciprocal Tariffs ซึ่งเป็นมาตรการภาษีแบบ “ตอบโต้เท่าเทียม” กับประเทศคู่ค้า

Reciprocal Tariffs คืออะไร

Reciprocal Tax หรือ “ภาษีตอบโต้แบบเท่าเทียม” คือ แนวคิดที่ว่า หากประเทศคู่ค้าของสหรัฐเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐในอัตราสูง สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศนั้นในอัตราเดียวกันกลับคืน

ตัวอย่างเช่น: หากยุโรปเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐ 10% แต่สหรัฐเก็บเพียง 2.5% ทรัมป์เสนอว่า สหรัฐควรขึ้นภาษีให้เท่ากับ 10% เช่นกัน เพื่อความ “ยุติธรรม” และ “เท่าเทียม”

วิธีการคำนวณ Reciprocal Tarriffs ของทรัมป์เป็นอย่างไร

หลักการคำนวณ Reciprocal Tariffs ของทรัมป์มีพื้นฐานมาจากแนวคิด “ภาษีที่เท่าเทียมกัน” (Equal Tax Treatment) โดยสหรัฐจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าในอัตราเดียวกับที่ประเทศนั้นเก็บกับสินค้าสหรัฐ

ตัวอย่างเช่น: หากประเทศ A เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐที่ 20% ขณะที่สหรัฐเก็บเพียง 2.5% สหรัฐจะปรับขึ้นภาษีรถยนต์จากประเทศ A เป็น 20% เช่นเดียวกัน

แนวทางนี้ฟังดูเรียบง่าย แต่ในความเป็นจริงอาจมีความซับซ้อน เนื่องจากแต่ละประเทศมีโครงสร้างภาษีที่ต่างกัน บางประเทศมีภาษีแฝง เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือค่าธรรมเนียมนำเข้าเพิ่มเติม ซึ่งไม่แสดงออกโดยตรงเป็นเปอร์เซ็นต์ ทำให้การเทียบเคียงภาษีแบบ "หนึ่งต่อหนึ่ง" อาจเกิดความไม่แม่นยำ และนำไปสู่ข้อพิพาทใน องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) หรือการตอบโต้ทางการค้ารุนแรงขึ้นได้

นอกจากนี้ แม้ว่า หลักการของ Reciprocal Tariffs จะดูเหมือนเน้นแค่การ “จับคู่ภาษีนำเข้าให้เท่ากัน” แต่ ในทางปฏิบัติและเชิงนโยบายของทรัมป์ ยังเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐ โดยเฉพาะกับประเทศคู่ค้ารายใหญ่ เช่น จีน เยอรมนี และเม็กซิโก

ทรัมป์มองว่า การที่ สหรัฐขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง (นำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออก) แปลว่าสหรัฐ “เสียเปรียบ” ทางการค้า และต้องใช้มาตรการตอบโต้เพื่อกดดันให้ประเทศเหล่านั้น ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ หรือเปิดตลาดให้กว้างขึ้น

นอกจากจะดูว่าแต่ละประเทศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐในอัตราเท่าไหร่แล้ว ทรัมป์ยังนำ ตัวเลขดุลการค้าแบบทวิภาคี (Bilateral Trade Deficit) มาใช้เป็น “เหตุผล” หรือ “ข้ออ้าง” สำหรับขึ้นภาษีนำเข้าแบบตอบโต้ เพื่อพยายามให้เกิดความสมดุลในการค้าระหว่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น : หากประเทศ B มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐปีละ 50,000 ล้านดอลลาร์ ทรัมป์อาจพุ่งเป้าขึ้นภาษีกับสินค้าจากประเทศ B มากกว่าประเทศอื่น แม้จะมีโครงสร้างภาษีเดิมใกล้เคียงกัน

โดยสรุป Reciprocal Tariffs ใช้ 2 องค์ประกอบมาคำนวณ คือ

  1. อัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้า ที่เรียกเก็บกับสหรัฐ
  2. การขาดดุลการค้าของสหรัฐกับประเทศคู่ค้า

ดังนั้น Reciprocal Tariffs จึงไม่ใช่แค่เรื่อง “ความเท่าเทียมทางการค้า” แต่ยังสะท้อนแนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Nationalism) และมุ่งลดการขาดดุลการค้าเป็นเป้าหมายสำคัญ

Reciprocal Tariffs ส่งผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจโลก

ผลกระทบของ Reciprocal Tariffs ไม่ได้จำกัดแค่ประเทศคู่ค้าของสหรัฐ แต่แผ่ขยายสู่ระบบเศรษฐกิจโลกในหลายมิติ เช่น:

  • ผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น: ผู้ผลิตต้องจ่ายภาษีมากขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น: ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพ
  • ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สะดุด: บริษัทข้ามชาติต้องปรับตัวต่อภาษีใหม่ ทำให้กระบวนการผลิตซับซ้อนขึ้น
  • ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลง: ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าทำให้เกิดความกังวลในตลาดทุน จะเห็นได้จากหลังจากมีการประกาศนโยบาย Reciprocal Tariffs ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ตอบรับด้วยแรงเทขาย ที่ทำให้ตลาดหุ้นดิ่งอย่างหนัก
  • แนวโน้มในการลดอัตราดอกเบี้ย: ผลกระทบด้านบน ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Recession) ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ธนาคารกลางของหลายประเทศน่าจะมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้นนโยบายเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ลดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง

ทำไมถึงมีการคาดการณ์ว่า Reciprocal Tax จะทำให้เกิด Recession?

การปรับภาษีแบบ Reciprocal Tax อาจดูเป็นมาตรการปกป้องผลประโยชน์ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจนำไปสู่ภาวะ Recession (เศรษฐกิจถดถอย) ได้ เนื่องจาก

  • การบริโภคและการลงทุนลดลง เพราะต้นทุนสูงขึ้น
  • การค้าระหว่างประเทศลดลง ซึ่งส่งผลให้ GDP หดตัว
  • ตลาดหุ้นผันผวน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุนสั่นคลอน
  • บริษัทลดการจ้างงาน ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่ม

หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อ อาจลุกลามกลายเป็น Stagflation หรือ Economic Crisis ได้ในที่สุด

10 ประเทศที่โดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า Reciprocal Tariffs จากสหรัฐฯ มากที่สุด

  1. เลโซโท และ แซงขปีแยร์และมีเกอลง 50%
  2. กัมพูชา 49%
  3. ลาว 48%
  4. มาดากัสการ์ 47%
  5. เวียดนาม 46%
  6. ศรีลังกา และ เมียนมา 44%
  7. หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 42%
  8. ซีเรีย 41%

หมายเหตุ: ณ วันที่ 10 เมษายน 2568 มีการชะลอการเรียกเก็บภาษี Reciprocal Tariffs ออกไป 90 วัน ยกเว้นประเทศจีนที่มีการเรียกเก็บภาษี Reciprocal Tariffs เป็น 125% ตอบโต้ที่จีนขึ้นภาษีตอบโต้

ไทยถูกเรียกเก็บภาษีมากเป็นอันดับที่ 15 ที่ 37%

10 ประเทศที่โดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า Reciprocal Tariffs จากสหรัฐฯ น้อยที่สุด

  1. คองโก 11%
  2. แคเมอรูน 12%
  3. อิเควทอเรียลกินี และ ชาด 13%
  4. ไนจีเรีย 14%
  5. เวเนซุเอลา 15%
  6. นอร์เวย์ และ โมซัมบิก 16%
  7. แซมเบีย และ ฟิลิปปินส์ 17%

ต้องจับตาดูเรื่องนโยบาย Reciprocal Tariffs อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอด สนใจลงทุน หุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะในเวลาวิกฤต ที่หุ้น Valuation ถูก พื้นฐานดี น่าสะสมเป็นอย่างมาก เปิดบัญชีลงทุนผ่านแอป Pi Financial แล้วเริ่มต้นลงทุนกับ Pi เลย

คำเตือน - ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน - ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้ รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา อย่างไรก็ตามบริษัทไม่สามารถยืนยันหรือรับรองข้อมูลความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่าประการใด ๆ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนความเห็นหรือประมาณการต่าง ๆ ที่ปรากฏโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ ไม่ว่าจะมาจากการอ่านเอกสารหรือบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการพิจารณาและใช้วิจารณญาณของผู้อ่านแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับบริษัท - ข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน 2568

About Author

profile icon
Pi Content Team
Pi Securities Public Company Limited