Pi แนะนำช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน RMF อย่างไร ให้เหมาะกับคุณ

Published
Share this article:
banner image

Pi แนะนำช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน RMF อย่างไร ให้เหมาะกับคุณ

การลงทุนในกองทุน SSF, RMF และ ThaiESG เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักลงทุนไทย เพราะนอกจากจะสร้างผลตอบแทนที่ดีแล้ว ยังมีประโยชน์ทางภาษีที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีกองทุนเหล่านี้ให้เลือกมากมายหลายร้อยกองทุน ทำให้หลายคนสงสัยว่าจะเลือกลงทุนในกองทุนไหน และควรจัดสัดส่วนอย่างไร

วันนี้ Pi Knowledge ได้จัดทำพอร์ตลงทุน RMF สำหรับลดหย่อนภาษีปี 2024 มาให้คุณเลือก 3 พอร์ต ซึ่งสอดคล้องกับสไตล์การลงทุนที่หลากหลาย โดยใช้กลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ที่ช่วยปรับสมดุลพอร์ตของคุณให้เหมาะกับทุกสถานการณ์ตลาด แต่มีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันตามที่คุณต้องการ

Pi RMF Recommended Portfolios

พอร์ต RMF สายเซฟ

  • กลยุทธ์การลงทุน: เน้นลงทุนในตลาดเงินและตราสารหนี้ที่ความเสี่ยงต่ำ โดยให้สัดส่วนของการลงทุนในตลาดเงินและตราสารหนี้รวมกันสูงถึง 70% ในขณะที่กระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลกอีก 30%
  • เหมาะกับ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ไม่ชอบความผันผวน เน้นการลดหย่อนภาษีเป็นหลัก แต่ยังคงได้ผลตอบแทนที่ชนะเงินฝาก

  1. ES-GQGRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 15%
  • เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทชั้นนำในตลาดที่มีส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรมที่เติบโต รวมถึงมีปัจจัยพื้นฐานเชิงบวก
  1. KT-HEALTHCARE-RMF
  • สัดส่วนการลงทุน 5%
  • ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆทั่วโลก ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การดำเนินชีวิต โดย Life Sciences จะเกี่ยวข้องกับการรักษาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิต
  1. PRINCIPAL VNEQRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 5%
  • ลงทุนในธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เวียดนาม
  1. KFINDIARMF
  • สัดส่วนการลงทุน 5%
  • ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และบังคลาเทศ
  1. UGIS-RMF
  • สัดส่วนการลงทุน 65%
  • เน้นการบริหารลงทุนเชิงรุก มีความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ต การลงทุน มีการกระจายไปยังตราสารหนี้ทั่วโลกที่หลากหลาย
  1. KPROPIRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 5%
  • ลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นลงทุน ในทรัพย์สินที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตในระยะยาว มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง กองทุนมีความยืดหยุ่นสูง กระจายการลงทุนในหลายประเทศ ไม่ได้กระจุกตัวอยู่แค่ไทยและสิงค์โปร์

พอร์ต RMF สายซอฟท์

  • กลยุทธ์การลงทุน: กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำได้แก่ตลาดเงินและตราสารหนี้รวมกัน 50% ของพอร์ต ลงทุนในหุ้นทั่วโลกอีก 45% และกระจายการลงทุนอีก 5% ไปในอสังหาริมทรัพย์
  • เหมาะกับ นักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และต้องการได้รับผลตอบแทนที่ดีไปพร้อมกัน โดยรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางขึ้นไป พร้อมที่จะกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้นทั่วโลก

  1. ES-GQGRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 22.5%
  • เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทชั้นนำในตลาดที่มีส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรมที่เติบโต รวมถึงมีปัจจัยพื้นฐานเชิงบวก
  1. KT-HEALTHCARE-RMF
  • สัดส่วนการลงทุน 7.5%
  • ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆทั่วโลก ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การดำเนินชีวิต โดย Life Sciences จะเกี่ยวข้องกับการรักษาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิต
  1. PRINCIPAL VNEQRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 7.5%
  • ลงทุนในธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เวียดนาม
  1. KFINDIARMF
  • สัดส่วนการลงทุน 7.5%
  • ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และบังคลาเทศ
  1. UGIS-RMF
  • สัดส่วนการลงทุน 45%
  • เน้นการบริหารลงทุนเชิงรุก มีความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ต การลงทุน มีการกระจายไปยังตราสารหนี้ทั่วโลกที่หลากหลาย
  1. KPROPIRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 10%
  • ลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นลงทุน ในทรัพย์สินที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตในระยะยาว มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง กองทุนมีความยืดหยุ่นสูง กระจายการลงทุนในหลายประเทศ ไม่ได้กระจุกตัวอยู่แค่ไทยและสิงค์โปร์

พอร์ต RMF สายซิ่ง

  • กลยุทธ์การลงทุน: เน้นลงทุนในหุ้นในสัดส่วนสูงถึง 60% เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น ทั้งยังกระจายการลงทุนไปในอสังหาริมทรัพย์อีก 10% แต่ยังคงสัดส่วนการลงทุนในตลาดเงินและตราสารหนี้ 30% เพื่อป้องกันความผันผวนของตลาด

  • เหมาะกับ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวจากตลาดหุ้นที่มีโอกาสเติบโตทั่วโลก

  1. ES-GQGRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 30%
  • เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทชั้นนำในตลาดที่มีส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรมที่เติบโต รวมถึงมีปัจจัยพื้นฐานเชิงบวก
  1. KT-HEALTHCARE-RMF
  • สัดส่วนการลงทุน 10%
  • ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆทั่วโลก ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การดำเนินชีวิต โดย Life Sciences จะเกี่ยวข้องกับการรักษาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิต
  1. PRINCIPAL VNEQRMF
  • สัดส่วนการลงทุน 10%
  • ลงทุนในธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เวียดนาม
  1. KFINDIARMF
  • สัดส่วนการลงทุน 10%
  • ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และบังคลาเทศ
  1. UGIS-RMF
  • สัดส่วนการลงทุน 30%
  • เน้นการบริหารลงทุนเชิงรุก มีความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ต การลงทุน มีการกระจายไปยังตราสารหนี้ทั่วโลกที่หลากหลาย
  1. KT-PROPERTY-RMF
  • สัดส่วนการลงทุน 10%
  • เน้นลงทุนในหุ้นหรือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่มีรายได้หลักจากการป็นเจ้าของบริหาร จัดการหรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก โดยครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

ไม่ว่าจะกองทุน SSF/RMF/ThaiESG กองไหนในลิสต์ก็สามารถซื้อได้ที่ Pi Financial App ทั้งหมด เพราะที่ Pi มีกองทุนมากกว่า 1,800 กองทุนจาก 18 บลจ. ชั้นนำให้คุณได้เลือกลงทุนได้ในที่เดียว เริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีและเริ่มต้นลงทุนกองทุน RMF เลยวันนี้ที่ Pi Financial App

คำเตือน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนและจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด

  • ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัท

About Author

profile icon
Pi Content Team
Pi Securities Public Company Limited