Stagflation คืออะไร? รู้จักภาวะเศรษฐกิจชะลอแต่เงินเฟ้อพุ่ง และโอกาสของทองคำในปี 2025
Stagflation คืออะไร? รู้จักภาวะเศรษฐกิจชะลอแต่เงินเฟ้อพุ่ง และโอกาสของทองคำในปี 2025
ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย ทั้งนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น หนึ่งในคำที่ถูกพูดถึงมากขึ้นคือ “Stagflation” หรือภาวะ “เศรษฐกิจถดถอย-เงินเฟ้อสูง” วันนี้ Pi Knowledge จะพาทำความรู้จักกับคำนี้ เปรียบเทียบกับคำที่เกี่ยวข้อง พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มสินทรัพย์ที่อาจได้ประโยชน์จากภาวะนี้อย่าง "ทองคำ"
Stagflation คืออะไร?
Stagflation หรือ ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ เป็นคำที่เกิดจากการรวมกันของคำว่า Stagnation (ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว) และ Inflation (ภาวะเงินเฟ้อ) ซึ่งหมายถึงสภาวะที่เศรษฐกิจไม่เติบโตหรือเติบโตช้ามาก ขณะเดียวกันราคาสินค้าและบริการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยทั่วไป หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นควรเป็นผลจากเศรษฐกิจขยายตัว แต่หากเงินเฟ้อสูงขึ้นโดยที่เศรษฐกิจกลับอ่อนแอ แสดงถึงความผิดปกติของระบบเศรษฐกิจ และนี่คือสิ่งที่เรียกว่า “Stagflation”
เปรียบเทียบ Stagflation, Inflation และ Stagnation
**ภาวะเศรษฐกิจ** | **ลักษณะหลัก** | **สาเหตุ** | **ผลกระทบต่อผู้บริโภค/นักลงทุน** | **ตัวอย่างในอดีต** |
---|---|---|---|---|
Inflation | ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น | ความต้องการบริโภคสูง, ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น, นโยบายการเงินผ่อนคลาย | ค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้น, เงินออมมีมูลค่าลดลง, สินทรัพย์เสี่ยงบางประเภทเติบโตดี | ช่วงหลังโควิด (2021–2022), เยอรมันยุคหลังสงครามโลก |
Stagnation | เศรษฐกิจเติบโตช้าหรือไม่โตเลย | การบริโภคและลงทุนลดลง, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง, ภาคธุรกิจชะลอตัว | รายได้ไม่เพิ่ม, อัตราว่างงานสูง, ตลาดหุ้นซบเซา | ญี่ปุ่นยุค Lost Decade (1990s) |
Stagflation | เงินเฟ้อสูง แต่เศรษฐกิจไม่โต | ต้นทุนวัตถุดิบพุ่ง เช่น น้ำมันม นโยบายการคลังผิดจังหวะม ภาษีนำเข้าสูง | ค่าครองชีพสูงขึ้น, รายได้ไม่ตามเงินเฟ้อ, หุ้นและตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนต่ำ | สหรัฐฯ ช่วงปี 1970s, ความเสี่ยงเกิดขึ้นอีกในปี 2025 |
โลกกำลังเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือไม่ในปี 2025?
มีหลายปัจจัยที่บ่งชี้ว่าโลกกำลังใกล้เข้าสู่ Stagflation โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก:
- ล่าสุด เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวในงาน Economic Club ที่ชิคาโกว่า “เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนแอลงจากผลกระทบของนโยบายภาษีศุลกากร”
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า นโยบายตั้งกำแพงภาษี และแนวทางเศรษฐกิจของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อาจเร่งให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับชะลอลง
- นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจโลกอาจกำลังเคลื่อนเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ โดยมีโอกาสที่ “Stagflation” จะกลายเป็นภาพใหญ่ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
ทองคำ สินทรัพย์โดดเด่นน่าลงทุนในภาวะ Stagflation
ข้อมูลจาก World Gold Council ช่วงปี 1980-2000 แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนเฉลี่ยของสินทรัพย์ต่างๆ ในช่วงภาวะ Stagflation ดังนี้:
- ทองคำ: +30%
- ตราสารหนี้สหรัฐฯ: +8%
- สินค้าโภคภัณฑ์ (ยกเว้นทองคำ): +18%
- หุ้น: –7%
ชัดเจนว่า ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดในช่วง Stagflation เพราะนักลงทุนมักมองหาสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยและสามารถรักษามูลค่าได้ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวก็ได้สะท้อนออกมาแล้วในปี 2025 ที่ราคาทองคำพุ่งขึ้นทำ All-Time High อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางตลาดหุ้นทั่วโลกที่สวนทางลง
Pi แนะนำทองคำยังคงน่าสนใจในปี 2025
บล.พาย จำกัด (มหาชน) แนะนำว่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการถือครองทองคำในปี 2025 เนื่องจาก:
- ทองคำยังเป็น สินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
- ทองคำให้ผลตอบแทนสูงถึง +27% ตั้งแต่ต้นปี 2025 ในขณะที่หุ้น พันธบัตร และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เผชิญกับความผันผวนสูง
- หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากนโยบายภาษีของปธน.ทรัมป์ ทองคำอาจเป็นผู้ชนะในทุกพอร์ตการลงทุน
Stagflation ไม่ใช่แค่ศัพท์เศรษฐกิจที่ควรรู้ แต่คือภาวะที่อาจเกิดขึ้นจริงในระยะอันใกล้ โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณจากผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน ในช่วงเวลาแบบนี้ ทองคำ จึงกลายเป็นสินทรัพย์ที่โดดเด่น และควรพิจารณาอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการปกป้องความมั่งคั่งในระยะยาว
3 ทางเลือกการลงทุนทองคำผ่านแอป Pi Financial ที่น่าสนใจ
1. กองทุนรวมทองคำ – SCBGOLD
ข้อดี
- บริหารโดยมืออาชีพ
- มีตัวเลือกหลายกองทุนให้เปรียบเทียบ ทั้งในเรื่องค่าธรรมเนียม และนโยบายการลงทุน
- มีกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย ทำให้สามารถได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีพร้อมโอกาสในการสร้างผลตอบแทนผ่านการลงทุนทองคำไปพร้อมกัน
ข้อเสีย
- ค่าธรรมเนียมสูงกว่าทางเลือกอื่น
- ซื้อขายไม่ได้แบบ Real-time
Pi แนะนำ: SCBGOLD
กองทุน ทองคำที่มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่งระดับโลก
2. ETF ทองคำ
ข้อดี
- ซื้อขายได้แบบ Real-time
- ค่าธรรมเนียมต่ำ
ข้อเสีย
- ไม่มี ETF ทองคำในตลาดหุ้นไทย ต้องซื้อผ่านตลาดต่างประเทศ
Pi แนะนำ: 2840.HKEX
ETF ทองคำในตลาดหุ้นฮ่องกง (ซื้อขายด้วยสกุลเงินฮ่องกงดอลลาร์)
3. DR ทองคำ
ข้อดี
- ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้โดยตรง
- เทรดทองคำแบบ Real-time เหมือนหุ้น
ข้อเสีย
- ค่าธรรมเนียมสูงกว่า ETF
Pi แนะนำ: GOLD03
DR ทองคำที่สามารถเทรดผ่านตลาดหุ้นไทย
ลงทุนทองคำได้แล้ววันนี้ที่แอป Pi Financial ลงทุนง่าย ลงทุนได้ ทุกที่ ทุกเวลา
คำเตือน
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้ รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา อย่างไรก็ตามบริษัทไม่สามารถยืนยันหรือรับรองข้อมูลความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่าประการใด ๆ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนความเห็นหรือประมาณการต่าง ๆ ที่ปรากฏโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ ไม่ว่าจะมาจากการอ่านเอกสารหรือบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการพิจารณาและใช้วิจารณญาณของผู้อ่านแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับบริษัท
- ข้อมูลจาก Pi Research ณ วันที่ 17 เมษายน 2568