รู้หรือไม่? เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท ถ้าไม่วางแผนลดหย่อนภาษี ต้องเสียภาษีแล้วนะ!

Published
Share this article:
banner image

รู้หรือไม่? เงินเดือนเกินเท่าไรต้องเสียภาษี!

การวางแผนภาษีเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถช่วยให้เราบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรายได้ของคุณเริ่มเข้าสู่เกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี รู้หรือไม่ว่าหากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือนเกิน 26,583.33 บาทต่อเดือน คุณต้องเริ่มวางแผนลดหย่อนภาษีแล้ว ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะต้องเริ่มต้นเสียภาษีแล้ว!

เงินเดือนเท่าไร ถึงไม่ต้องเสียภาษี

ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยผู้ที่มีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี ต้องเริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 5% ซึ่งเมื่อคิดย้อนกลับ นำค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท, ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคมอีก 9,000 บาท ซึ่งคาดว่าเป็นรายการลดหย่อนภาษีพื้นฐานที่คาดว่าพนักงานเงินเดือนทุกคนได้รับ บวกกลับเข้าไป จึงสรุปรวมรายได้สุทธิที่ไม่ต้องเสียภาษีก่อนหักรายการลดหย่อนภาษีอยู่ที่ 319,000 บาท หรือคิดเป็นเงินเดือนสุทธิไม่เกิน 26,583.33 บาท

หมายความว่าหากคุณมีรายได้เกินกว่าจำนวนนี้ แต่ไม่ได้ทำการวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีอย่างเหมาะสม คุณจะต้องเริ่มเสียภาษีในอัตราที่กฎหมายกำหนดแล้ว

ลดหย่อนภาษีอย่างไร ลดหย่อนรายการอะไรได้บ้าง?

การลดหย่อนภาษีเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้ หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ามีวิธีการลดหย่อนหลายแบบที่สามารถใช้ได้ มาดูกันว่า มีรายการใดบ้างที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

1.1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท

1.2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท

1.3. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ 60,000 บาท ต่อครรภ์

1.4. ค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคน (60,000 บาทสำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561)

1.5. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา ลดหย่อนได้ 30,000 บาท ต่อคน (สูงสุดไม่เกิน 4 คน)

1.6. ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ ลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคน

2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

2.1. เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท

2.2. เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท

2.3. เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท

2.4. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท

2.5. เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท

2.6. กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท

2.7. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

2.8. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

2.9. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

2.10. กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

2.11. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ 30,000 บาท

2.12. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

3.1. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้สูงสุด 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

3.2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม ลดหย่อนได้สูงสุด 2 เท่าของเงินบริจาค สูงสุด 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

3.3. เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนได้ 10,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

4.1. Easy e-Receipt 2567 ลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท

4.2. ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง 2567 ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท

4.3. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท

4.4. ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568 ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท

ตัวอย่างการลดหย่อนภาษี

สมมติว่าคุณมีรายได้สุทธิต่อปี 450,000 บาท และคุณใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ดังนี้:

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว = 60,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิต = 100,000 บาท
  • การลงทุนใน RMF = 50,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา = 30,000 บาท

เมื่อรวมค่าลดหย่อนทั้งหมด คุณจะได้ลดหย่อนภาษีจำนวน 240,000 บาท ซึ่งจะช่วยลดรายได้สุทธิเหลือเพียง 210,000 บาท ทำให้คุณต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 150,000 บาทเพียง 3,000 บาท เท่านั้น ซึ่งน้อยลงจากการไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนอย่างมีนัยสำคัญ

การวางแผนภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้มากขึ้น หากคุณมีเงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท และไม่วางแผนลดหย่อนภาษี คุณอาจต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควร เพราะฉะนั้น ควรให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุน SSF/RMF/ThaiESG เพื่อลดภาระภาษีและเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคต

รวมโปรโมชันกองทุนลดหย่อนภาษี SSF/RMF/ThaiESG 2024 ลดหย่อนภาษีได้ รับ Fund Back ด้วย ที่ Pi Financial

✅ ต่อที่ 1: ลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุน Pi พร้อม รับบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาท

เพียงเปิดบัญชีลงทุนหุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ และกองทุนรวมบนแอป Pi Financial ให้สำเร็จตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. - 30 ธ.ค. 2567

กรอก 👉Promotion Code: Pi100👈ก็รับรางวัลบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาทไปเลย

✅ ต่อที่ 2: รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 800,000 บาท

ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ที่ช่วยให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดถึง 800,000 บาท

✅ ต่อที่ 3: เมื่อลงทุนกองทุนที่ร่วมรายการ* รับกองทุนตลาดเงิน (Fund Back) คืนสูงสุด 0.2% ของมูลค่าการลงทุน

ให้การลงทุนกองทุน SSF/RMF/ThaiESG คุ้มค่าไปอีกขั้น กับโปรโมชันจัดเต็มจากบลจ. ชั้นนำ ที่จะทำให้การลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีคุ้มค่ากว่าที่เคย เพราะนอกจากจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้แล้ว ยังได้รับรางวัลเป็นกองทุนตลาดเงิน (Fund Back) จากบลจ. อีกด้วย Pi Financial รวบรวมโปรโมชันกองทุนลดหย่อนภาษีจากบลจ. ชั้นนำมาให้คุณในที่เดียว ไม่ว่าจะกองทุนจากบลจ. ไหนในลิสต์นี้ ก็สามารถซื้อได้ที่ Pi Financial App ศึกษารายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม

ไม่ว่าจะกองทุน SSF/RMF/ThaiESG กองไหนในลิสต์ก็สามารถซื้อได้ที่ Pi Financial App ทั้งหมด เพราะที่ Pi มีกองทุนมากกว่า 1,800 กองทุนจาก 18 บลจ. ชั้นนำให้คุณได้เลือกลงทุนได้ในที่เดียว เริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีและเริ่มต้นลงทุนกองทุน RMF เลยวันนี้ที่ Pi Financial App

บทความที่คุณอาจจะสนใจ

👉 Pi Financial ช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน RMF อย่างไร ให้ตรงใจคุณ

👉 Pi Financial ช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน SSF อย่างไร ให้ตรงใจคุณ

👉 ชี้เป้ากองทุน Thai ESG Top Picks ปี 2567 รวมกองทุนลดหย่อนภาษีแนะนำจากบล.พาย

👉 เปิดโพยกองทุน SSF/RMF Top Picks ปี 2567 รวมกองทุนลดหย่อนภาษีแนะนำจากบล.พาย

👉 5 กองทุน RMF ที่มียอดซื้อสะสมสูงสุดบนแอป Pi Financial ปี 2024

👉 Top 5 กองทุน SSF ที่มียอดซื้อสูงสุดที่แอป Pi Financial ประจำปี 2024

👉 Top 3 กองทุน ThaiESG ที่มียอดซื้อสะสมสูงสุดบนแอป Pi Financial ปี 2024

คำเตือน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนและจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด

  • ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัท

About Author

profile icon
Pi Content Team
Pi Securities Public Company Limited