รู้หรือไม่? เงินเดือน 80,000 บาท ถ้าไม่วางแผนลดหย่อนภาษี เหมือนต้องทำงานฟรี 1 เดือน!

Published
Share this article:
banner image

รู้หรือไม่? เงินเดือน 80,000 บาท ถ้าไม่วางแผนลดหย่อนภาษี เหมือนต้องทำงานฟรี 1 เดือน!

หลายคนมุ่งเน้นที่จะเพิ่มวิธีหารายได้เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยอาจจะละเลยการวางแผนลดหย่อนภาษีไป แต่รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได นั่นหมายถึงว่า หากคุณยิ่งมีรายได้มาก คุณต้องต้องเสียภาษีมากขึ้นตามไปด้วย การวางแผนลดหย่อนภาษีอาจดูเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน แต่ยิ่งคุณมีรายได้สูงมากเท่าใด การวางแผนภาษียิ่งจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น มิเช่นนั้น คุณอาจต้องทำงาน "ฟรี" 1 เดือนหรืออาจจะหลายเดือนในแต่ละปี!

วิธีการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

ประเทศไทยจัดเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ยิ่งมีรายได้มาก ก็ยิ่งต้องเสียภาษีได้อัตราที่สูงขึ้นเป็นขั้นบันได โดยอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้ เริ่มต้นที่ 5% ไปจนถึงสูงสุด 35% ต่อปี

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี (%) ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นบันได (บาท)ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นบันได (บาท)
0 - 150,000 ยกเว้น ยกเว้น 0
150,001 - 300,0005%7,5007,500
300,001 - 500,00010%20,00027,500
500,001 - 750,00015%37,50065,000
750,001 - 1,000,00020%50,000115,000
1,000,001 - 2,000,00025%250,000365,000
2,000,001 - 5,000,00030%900,0001,265,000
5,000,001 บาทขึ้นไป35%ไม่มีไม่มี

การคำนวณภาษีนี้ใช้สูตรพื้นฐานคือ ‘รายได้สุทธิต่อปี - ค่าลดหย่อน’ โดยการคิดภาษีแบบขั้นบันได ไม่ได้คิดภาษีจากรายได้ทั้งก้อนที่อัตราเดียวกัน แต่แบ่งคิดตามขั้นบันได ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีรายได้สุทธิต่อปี 450,000 บาท ต่อปี

  • รายได้ 150,000 บาทแรกจะได้รับการยกเว้นภาษี
  • รายได้ 150,000 บาทต่อมา จะถูกคิดภาษีที่ 5% หรือ 7,500 บาท (5% ของ 150,000)
  • รายได้อีก 150,000 บาทสุดท้าย จะถูกคิดภาษีที่ 10% หรือ 15,000 บาท (10% ของ 150,000)

รวมแล้ว หากคุณมีรายได้สุทธิต่อปี 450,000 บาท คุณจะต้องเสียภาษีทั้งหมด 0 + 7,500 + 15,000 = 22,500 บาท

ภาษีที่คุณต้องจ่ายถ้ามีเงินเดือน 80,000 บาท

หากคุณมีเงินเดือน 80,000 บาท คุณถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้อยู่ในกลุ่ม Top 10% ของประเทศ รายได้ต่อปีของคุณจะอยู่ที่ 960,000 บาท (ยังไม่รวมโบนัสหรือรายได้พิเศษอื่น ๆ) หักลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท และ ค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท ที่คาดว่าเป็นรายการลดหย่อนภาษีที่คนเงินเดือน 80,000 บาท ทุกคนน่าจะได้รับอยู่แล้ว จะเหลือรายได้สุทธิต่อปีอยู่ที่ 791,000 บาท

  • รายได้ 150,000 บาทแรกจะได้รับการยกเว้นภาษี
  • รายได้ 150,000 บาทต่อมา จะถูกคิดภาษีที่ 5% หรือ 7,500 บาท (5% ของ 150,000)
  • รายได้อีก 200,000 บาทต่อมา จะถูกคิดภาษีที่ 10% หรือ 20,000 บาท (10% ของ 200,000)
  • รายได้อีก 250,000 บาทต่อมา จะถูกคิดภาษีที่ 15% หรือ 37,500 บาท (15% ของ 250,000)
  • รายได้อีก 41,000 บาทสุดท้าย จะถูกคิดภาษีที่ 20% หรือ 8,200 บาท (20% ของ 41,000)

ตามฐานภาษี ผู้ที่มีรายได้ 80,000 บาทต่อเดือน หรือ มีรายได้สุทธิ 791,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษีทั้งหมด จะต้องเสียภาษีทั้งหมด 0 + 7,500 + 20,000 + 37,500 + 8,200 = 73,200 บาท หรือ เกือบเท่ากับเงินเดือน 1 เดือนเลยทีเดียว

หมายความว่าหากคุณไม่มีการวางแผนลดหย่อนภาษีที่ดี คุณอาจต้องจ่ายภาษีไปเป็นเงินหลายหมื่นบาทต่อปี ยิ่งถ้ามีรายได้สูงกว่านี้ ถ้าไม่วางแผนลดหย่อนภาษีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีมากกว่านี้อีก

เงินเดือนสูง = ภาษีไม่จำเป็นต้องสูงตาม หากวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างรอบคอบ

เมื่อคุณมีรายได้ที่สูงขึ้น อัตราภาษีก็จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น สูตรการคำนวณภาษีพื้นฐานคือภาษี = รายได้สุทธิต่อปี – ค่าลดหย่อนจากสมการด้านบนจะเห็นว่า หากต้องการลดภาษี มี 2 อย่างที่ทำได้ คือ

  1. ลดรายได้สุทธิ
  2. เพิ่มค่าลดหย่อน

ซึ่งคงไม่มีใครอยากลดรายได้ลง ใครๆ ต่างก็อยากได้รายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ฉะนั้นหมายความว่าควรหาทางเพิ่มค่าลดหย่อนเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง โดยในประเทศไทย ก็มีตัวเลือกในการลดหย่อนภาษีที่หลากหลาย ทั้ง ประกันชีวิต, กองทุนลดหย่อนภาษี และการบริจาค ซึ่งคุณควรเริ่มต้นวางแผนภาษีให้เหมาะกับเป้าหมายการเงิน และเงื่อนไขในชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละคน การวางแผนลดหย่อนภาษีไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่าย แต่ยังช่วยให้คุณจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อไปนี้คือแนวทางที่สามารถช่วยให้คุณลดหย่อนภาษีและประหยัดเงินได้มากขึ้น

ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ที่ Pi Financial

การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง SSF/RMF/ThaiESG เป็นหนึ่งในทางเลือกในการลดหย่อนภาษีที่ดี เนื่องจากนอกจากจะช่วยให้คุณสามารถลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังสามารถสร้างผลตอบแทนให้คุณได้เพิ่มเติมอีกด้วย

Pi Financial แอปพลิเคชันการลงทุนครบวงจรที่จะช่วยให้การลงทุน ง่ายกว่าที่เคย รวบรวมกองทุนลดหย่อนภาษีจาก 18 บลจ. ชั้นนำ มากกว่า 1,700 กองทุนมาไว้ในที่เดียว ช่วยให้คุณลงทุนและวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างสะดวกในแอปเดียว

พิเศษ! ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG กับ Pi Financial คุ้มค่าไปอีกขั้น กับโปรโมชันจัดเต็มจากบลจ. ชั้นนำ ที่จะทำให้การลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีคุ้มค่ากว่าที่เคย เพราะนอกจากจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้แล้ว ยังได้รับรางวัลเป็นกองทุนตลาดเงิน (Fund Back) จากบลจ. อีกด้วย Pi Financial รวบรวมโปรโมชันกองทุนลดหย่อนภาษีจากบลจ. ชั้นนำมาให้คุณในที่เดียว ไม่ว่าจะกองทุนจากบลจ. ไหนในลิสต์นี้ ก็สามารถซื้อได้ที่ Pi Financial App ศึกษารายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม

✅ ต่อที่ 1: ลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุน Pi พร้อม รับบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาท

เพียงเปิดบัญชีลงทุนหุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ และกองทุนรวมบนแอป Pi Financial ให้สำเร็จตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. - 30 ธ.ค. 2567

กรอก 👉Promotion Code: Pi100👈ก็รับรางวัลบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาทไปเลย

✅ ต่อที่ 2: รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 800,000 บาท

ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ที่ช่วยให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดถึง 800,000 บาท

✅ ต่อที่ 3: เมื่อลงทุนกองทุนที่ร่วมรายการ* รับกองทุนตลาดเงิน (Fund Back) คืนสูงสุด 0.2% ของมูลค่าการลงทุน

ไม่ว่าจะกองทุน SSF/RMF/ThaiESG กองไหนในลิสต์ก็สามารถซื้อได้ที่ Pi Financial App ทั้งหมด เริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีและเริ่มต้นลงทุนกองทุน RMF เลยวันนี้ที่ Pi Financial App

บทความที่คุณอาจจะสนใจ

👉 Pi Financial ช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน RMF อย่างไร ให้ตรงใจคุณ

👉 Pi Financial ช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน SSF อย่างไร ให้ตรงใจคุณ

👉 ชี้เป้ากองทุน Thai ESG Top Picks ปี 2567 รวมกองทุนลดหย่อนภาษีแนะนำจากบล.พาย

👉 เปิดโพยกองทุน SSF/RMF Top Picks ปี 2567 รวมกองทุนลดหย่อนภาษีแนะนำจากบล.พาย

👉 5 กองทุน RMF ที่มียอดซื้อสะสมสูงสุดบนแอป Pi Financial ปี 2024

👉 Top 5 กองทุน SSF ที่มียอดซื้อสูงสุดที่แอป Pi Financial ประจำปี 2024

👉 Top 3 กองทุน ThaiESG ที่มียอดซื้อสะสมสูงสุดบนแอป Pi Financial ปี 2024

คำเตือน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนและจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด

  • ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัท

About Author

profile icon
Pi Content Team
Pi Securities Public Company Limited