Stagflation คืออะไร? รู้จักภาวะเศรษฐกิจชะลอแต่เงินเฟ้อพุ่ง และโอกาสของทองคำในปี 2025

Published
Share this article:
DR
Mutual Fund
Global Equity
banner image

Stagflation คืออะไร? รู้จักภาวะเศรษฐกิจชะลอแต่เงินเฟ้อพุ่ง และโอกาสของทองคำในปี 2025

ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย ทั้งนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น หนึ่งในคำที่ถูกพูดถึงมากขึ้นคือ “Stagflation” หรือภาวะ “เศรษฐกิจถดถอย-เงินเฟ้อสูง” วันนี้ Pi Knowledge จะพาทำความรู้จักกับคำนี้ เปรียบเทียบกับคำที่เกี่ยวข้อง พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มสินทรัพย์ที่อาจได้ประโยชน์จากภาวะนี้อย่าง "ทองคำ"

Stagflation คืออะไร?

Stagflation หรือ ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ เป็นคำที่เกิดจากการรวมกันของคำว่า Stagnation (ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว) และ Inflation (ภาวะเงินเฟ้อ) ซึ่งหมายถึงสภาวะที่เศรษฐกิจไม่เติบโตหรือเติบโตช้ามาก ขณะเดียวกันราคาสินค้าและบริการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยทั่วไป หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นควรเป็นผลจากเศรษฐกิจขยายตัว แต่หากเงินเฟ้อสูงขึ้นโดยที่เศรษฐกิจกลับอ่อนแอ แสดงถึงความผิดปกติของระบบเศรษฐกิจ และนี่คือสิ่งที่เรียกว่า “Stagflation”

เปรียบเทียบ Stagflation, Inflation และ Stagnation

**ภาวะเศรษฐกิจ** **ลักษณะหลัก** **สาเหตุ****ผลกระทบต่อผู้บริโภค/นักลงทุน****ตัวอย่างในอดีต**
Inflation ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคสูง, ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น, นโยบายการเงินผ่อนคลาย ค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้น, เงินออมมีมูลค่าลดลง, สินทรัพย์เสี่ยงบางประเภทเติบโตดี ช่วงหลังโควิด (2021–2022), เยอรมันยุคหลังสงครามโลก
Stagnation เศรษฐกิจเติบโตช้าหรือไม่โตเลย การบริโภคและลงทุนลดลง, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง, ภาคธุรกิจชะลอตัว รายได้ไม่เพิ่ม, อัตราว่างงานสูง, ตลาดหุ้นซบเซา ญี่ปุ่นยุค Lost Decade (1990s)
Stagflation เงินเฟ้อสูง แต่เศรษฐกิจไม่โต ต้นทุนวัตถุดิบพุ่ง เช่น น้ำมันม นโยบายการคลังผิดจังหวะม ภาษีนำเข้าสูง ค่าครองชีพสูงขึ้น, รายได้ไม่ตามเงินเฟ้อ, หุ้นและตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนต่ำ สหรัฐฯ ช่วงปี 1970s, ความเสี่ยงเกิดขึ้นอีกในปี 2025

โลกกำลังเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือไม่ในปี 2025?

มีหลายปัจจัยที่บ่งชี้ว่าโลกกำลังใกล้เข้าสู่ Stagflation โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก:

  • ล่าสุด เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวในงาน Economic Club ที่ชิคาโกว่า “เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนแอลงจากผลกระทบของนโยบายภาษีศุลกากร”
  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า นโยบายตั้งกำแพงภาษี และแนวทางเศรษฐกิจของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อาจเร่งให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับชะลอลง
  • นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจโลกอาจกำลังเคลื่อนเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ โดยมีโอกาสที่ “Stagflation” จะกลายเป็นภาพใหญ่ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

ทองคำ สินทรัพย์โดดเด่นน่าลงทุนในภาวะ Stagflation

ข้อมูลจาก World Gold Council ช่วงปี 1980-2000 แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนเฉลี่ยของสินทรัพย์ต่างๆ ในช่วงภาวะ Stagflation ดังนี้:

  • ทองคำ: +30%
  • ตราสารหนี้สหรัฐฯ: +8%
  • สินค้าโภคภัณฑ์ (ยกเว้นทองคำ): +18%
  • หุ้น: –7%

ชัดเจนว่า ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดในช่วง Stagflation เพราะนักลงทุนมักมองหาสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยและสามารถรักษามูลค่าได้ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวก็ได้สะท้อนออกมาแล้วในปี 2025 ที่ราคาทองคำพุ่งขึ้นทำ All-Time High อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางตลาดหุ้นทั่วโลกที่สวนทางลง

Pi แนะนำทองคำยังคงน่าสนใจในปี 2025

บล.พาย จำกัด (มหาชน) แนะนำว่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการถือครองทองคำในปี 2025 เนื่องจาก:

  • ทองคำยังเป็น สินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
  • ทองคำให้ผลตอบแทนสูงถึง +27% ตั้งแต่ต้นปี 2025 ในขณะที่หุ้น พันธบัตร และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เผชิญกับความผันผวนสูง
  • หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากนโยบายภาษีของปธน.ทรัมป์ ทองคำอาจเป็นผู้ชนะในทุกพอร์ตการลงทุน

Stagflation ไม่ใช่แค่ศัพท์เศรษฐกิจที่ควรรู้ แต่คือภาวะที่อาจเกิดขึ้นจริงในระยะอันใกล้ โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณจากผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน ในช่วงเวลาแบบนี้ ทองคำ จึงกลายเป็นสินทรัพย์ที่โดดเด่น และควรพิจารณาอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการปกป้องความมั่งคั่งในระยะยาว

3 ทางเลือกการลงทุนทองคำผ่านแอป Pi Financial ที่น่าสนใจ

1. กองทุนรวมทองคำ – SCBGOLD

ข้อดี

  • บริหารโดยมืออาชีพ
  • มีตัวเลือกหลายกองทุนให้เปรียบเทียบ ทั้งในเรื่องค่าธรรมเนียม และนโยบายการลงทุน
  • มีกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย ทำให้สามารถได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีพร้อมโอกาสในการสร้างผลตอบแทนผ่านการลงทุนทองคำไปพร้อมกัน

ข้อเสีย

  • ค่าธรรมเนียมสูงกว่าทางเลือกอื่น
  • ซื้อขายไม่ได้แบบ Real-time

Pi แนะนำ: SCBGOLD
กองทุน ทองคำที่มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่งระดับโลก

2. ETF ทองคำ

ข้อดี

  • ซื้อขายได้แบบ Real-time
  • ค่าธรรมเนียมต่ำ

ข้อเสีย

  • ไม่มี ETF ทองคำในตลาดหุ้นไทย ต้องซื้อผ่านตลาดต่างประเทศ

Pi แนะนำ: 2840.HKEX
ETF ทองคำในตลาดหุ้นฮ่องกง (ซื้อขายด้วยสกุลเงินฮ่องกงดอลลาร์)

3. DR ทองคำ

ข้อดี

  • ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้โดยตรง
  • เทรดทองคำแบบ Real-time เหมือนหุ้น

ข้อเสีย

  • ค่าธรรมเนียมสูงกว่า ETF

Pi แนะนำ: GOLD03
DR ทองคำที่สามารถเทรดผ่านตลาดหุ้นไทย

ลงทุนทองคำได้แล้ววันนี้ที่แอป Pi Financial ลงทุนง่าย ลงทุนได้ ทุกที่ ทุกเวลา

คำเตือน

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้ รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา อย่างไรก็ตามบริษัทไม่สามารถยืนยันหรือรับรองข้อมูลความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่าประการใด ๆ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนความเห็นหรือประมาณการต่าง ๆ ที่ปรากฏโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ ไม่ว่าจะมาจากการอ่านเอกสารหรือบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการพิจารณาและใช้วิจารณญาณของผู้อ่านแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับบริษัท
  • ข้อมูลจาก Pi Research ณ วันที่ 17 เมษายน 2568

About Author

profile icon
Pi Content Team
Pi Securities Public Company Limited