ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ที่ Pi Financial คุ้มที่สุดถึง 2 ต่อ
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ให้คุ้มค่าที่สุดถึง 2 ต่อ ที่ Pi Financial เท่านั้น
✅ ต่อที่ 1: รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 800,000 บาท
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ที่ช่วยให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดถึง 800,000 บาท
✅ ต่อที่ 2: เมื่อลงทุนกองทุนที่ร่วมรายการ* รับกองทุนตลาดเงิน (Fund Back) คืนสูงสุด 0.2% ของมูลค่าการลงทุน
ให้การลงทุนกองทุน SSF/RMF/ThaiESG คุ้มค่าไปอีกขั้น กับโปรโมชันจัดเต็มจากบลจ. ชั้นนำ ที่จะทำให้การลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีคุ้มค่ากว่าที่เคย เพราะนอกจากจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้แล้ว ยังได้รับรางวัลเป็นกองทุนตลาดเงิน (Fund Back) จากบลจ. อีกด้วย Pi Financial รวบรวมโปรโมชันกองทุนลดหย่อนภาษีจากบลจ. ชั้นนำมาให้คุณในที่เดียว ไม่ว่าจะกองทุนจากบลจ. ไหนในลิสต์นี้ ก็สามารถซื้อได้ที่ Pi Financial App
1. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF จากบลจ. แอสเซท พลัส จำกัด (Asset Plus Fund Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF จาก Asset Plus Fund Management ที่ร่วมรายการรับหน่วยลงทุน กอง ASP-DGOV-R มูลค่า 0.2% ของมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ ยกเว้น กองทุน ASP-FRF
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 30,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ถือครองต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน
ระยะเวลาโปรโมชัน
1 ก.ค. - 30 ก.ย. 2567
2. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF จากบลจ. อเบอร์ดีน (Aberdeen Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF จาก Aberdeen Asset Management ที่ร่วมรายการทุก ๆ 50,000 บาท รับกองทุนเปิดอเบอร์ดีน แคช ครีเอชั่น (ABCC) 100 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
3. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จากบลจ. กรุงศรี (Krungsri Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จาก Krungsri Asset Management ที่ร่วมรายการครบทุก 50,000 บาทรับหน่วยลงทุนกองทุน KFCASH-A มูลค่า 100 บาท ยกเว้น กองทุน KFCASHSSF, KFAFIXSSF, KFCASHRMF, KFAFIXRMF, KFGOVRMF, KFLTGOVRMF, KFMTFIRMF, KFGBTHAIESG และ SSF/ RMF/ Thai ESG ในปี 2567 ที่บริษัทอาจประกาศยกเว้นภายหลัง
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
4. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF จากบลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH Fund Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF จาก LH Fund Management ที่ร่วมรายการครบทุก 50,000 บาทรับหน่วยลงทุนกองทุน LHMM-A มูลค่า 100 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
5. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จากบลจ. เอ็มเอฟซี (MFC Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จาก MFC Asset Management ที่ร่วมรายการครบทุก 50,000 บาทรับหน่วยลงทุนกองทุน MM-GOVMF มูลค่า 100 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
6. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF จากบลจ. วรรณ (One Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF จาก One Asset Management ที่ร่วมรายการทุกๆ 10,000 บาทรับหน่วยลงทุนกองทุน 1AM-DAILY มูลค่า 20 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 10,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
3 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
7. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จากบลจ. พรินซิเพิล (Principal Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จาก Principal Asset Management ที่ร่วมรายการทุกๆ 50,000บาท รับหน่วยลงทุนกอง PRINCIPAL DPLUS-A 100บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
1 ก.ค. - 30 ธ.ค. 2567
8. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จากบลจ. ไทยพาณิชย์ (SCB Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จาก SCB Asset Management ที่ร่วมรายการรับหน่วยลงทุนกองทุน SCBSFF มูลค่า 0.2% ของมูลค่าหน่วยลงทุน สูงสุดไม่เกิน 1,600 บาท ยกเว้น กองทุนตราสารหนี้ และกองทุนลดหย่อนภาษี e-class
ลงทุนขั้นต่ำ
ไม่มี
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ก.ย. - 30 ธ.ค. 2567
9. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จากบลจ. อีสท์สปริง (ประเทศไทย) (Eastspring Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จาก Eastspring Asset Management ที่ร่วมรายการทุกๆ 50,000 บาทรับหน่วยลงทุนกองทุน ES-CASH มูลค่า 100 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
10. โปรโมชันกองทุน RMF จากบลจ. ดาโอ (ประเทศไทย) (Daol Investment Management)
ซื้อกองทุน RMF จาก Daol Investment Management ที่ร่วมรายการ ได้แก่ DAOL-GLOBALEQRMF และ DAOL-GOLDRMF ทุกๆ 50,000 บาท รับหน่วยลงทุน DAOL-MONEY-R 100 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
11. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จากบลจ. ทาลิส จำกัด (Talis Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จาก Talis Asset Management ที่ร่วมรายการ ทุกๆ 25,000 บาท รับหน่วยลงทุน TLMMF-A 0.2% ของมูลค่าการลงทุนแต่สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
25,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ถึง 31 มี.ค. 2568
ระยะเวลาโปรโมชัน
23 ก.ย. - 30 ธ.ค. 2567
12. โปรโมชันกองทุน SSF/RMF/ThaiESG จากบลจ. เกียรตินาคินภัทร (Kiatnakin Phatra Asset Management)
ซื้อกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ที่ร่วมรายการ จาก Kiatnakin Phatra Asset Management ทุกๆ 50,000 บาทรับหน่วยลงทุนกองทุน KKP MP มูลค่า 100 บาท
ลงทุนขั้นต่ำ
ลงทุนเริ่มต้น 50,000 บาท
ระยะเวลาถือครอง
ไม่มี
ระยะเวลาโปรโมชัน
2 ม.ค. - 30 ธ.ค. 2567
เปิดโพยกองทุน SSF/RMF ปี 2567 จาก Pi Financial
เรื่องภาษีต้องวางแผน อย่ารอจนวินาทีสุดท้ายถึงค่อยจัดการวางแผนลดหย่อนภาษี ชี้เป้ากองทุน SSF/RMF Top Picks จากบล.พาย ปี 2567 คัดมาแล้วทุกตัวว่าเด็ด ช่วยคุณตัดสินใจลงทุนได้ง่ายกว่าที่เคย
👉 เปิดโพยกองทุน SSF/RMF Top Picks ปี 2567 รวมกองทุนลดหย่อนภาษีแนะนำจากบล.พาย
👉 Pi Financial ช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน SSF อย่างไร ให้ตรงใจคุณ
👉 Pi Financial ช่วยจัดพอร์ตลงทุนลดหย่อนภาษีปี 2024 แบ่งสัดส่วนลงทุน RMF อย่างไร ให้ตรงใจคุณ
เปิดโพยกองทุน ThaiESG Top Picks แนะนำปี 2567 จาก Pi Financial
👉 ชี้เป้ากองทุน Thai ESG Top Picks ปี 2567 รวมกองทุนลดหย่อนภาษีแนะนำจากบล.พาย
เปรียบเทียบกองทุน SSF/RMF/ThaiESG วางแผนลดหย่อนภาษีปีนี้ กองทุนประเภทไหนเหมาะกับคุณ
1. กองทุน SSF (Super Savings Fund)
เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้พึงประเมินต่อปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- นับรวมกับกองทุนเพื่อการออมและกองทุนเพื่อเกษียณรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ กองทุน RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ และประกันบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
ระยะเวลาการลงทุน
ลงทุนขั้นต่ำ 10 ปี (นับแบบวันชนวัน)
ลงทุนต่อเนื่อง
ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี
สินทรัพย์ที่ลงทุน
สามารถเลือกลงทุนได้ในทุกประเภทสินทรัพย์ ทั้งใน หุ้น, ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกทั้งในไทยและต่างประเทศ
ข้อดี
- ระยะเวลาในการถือครองไม่นานมาก ไม่จำเป็นต้องรอจนอายุครบ 55 ปี
- สามารถเลือกลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ไม่จำกัดแค่หุ้นและตราสารหนี้ในไทยเท่านั้นเหมือนกองทุน ThaiESG
ข้อเสีย
- ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 10 ปี ซึ่งอาจถือเป็นระยะเวลาที่นานสำหรับนักลงทุนบางท่าน
- ณ ปัจจุบัน ปี 2567 จะเป็นปีสุดท้ายที่นักลงทุนจะสามารถซื้อกองทุน SSF และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- มีความเสี่ยงตามความผันผวนของตลาด กลยุทธ์การลงทุนอาจเปลี่ยนแปลงระหว่าง 10 ปี แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการ Switch กองทุนไปหากองทุน SSF กองอื่นที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในอนาคตโดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2. กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้พึงประเมินต่อปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- นับรวมกับกองทุนเพื่อการออมและกองทุนเพื่อเกษียณรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ กองทุน SSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ และประกันบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
ระยะเวลาการลงทุน
ต้องถือครองจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และ ต้องถือครองต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปีปฎิทิน
ลงทุนต่อเนื่อง
ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยสามารถเว้นได้ไม่เกิน 1 ปี
สินทรัพย์ที่ลงทุน
สามารถเลือกลงทุนได้ในทุกประเภทสินทรัพย์ ทั้งใน หุ้น, ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกทั้งในไทยและต่างประเทศ
ข้อดี
- มีวงเงินลดหย่อนภาษีสูงกว่ากองทุน SSF
- เน้นการลงทุนเพื่อการเกษียณซึ่งช่วยให้มีเงินสำรองในวัยเกษียณ
ข้อเสีย
- ต้องถือครองนานจนถึงอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- มีความเสี่ยงตามความผันผวนของตลาด กลยุทธ์การลงทุนอาจเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาถือครองที่นานมาก แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการ Switch กองทุนไปหากองทุน RMF กองอื่นที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในอนาคตโดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี
3. กองทุน ThaiESG (Thailand ESG Fund)
เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้พึงประเมินต่อปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
- มีวงเงินการลดหย่อนภาษีแยกออกมาจากกองทุนเพื่อการออมและการเกษียณรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ SSF, RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ และประกันบำนาญ
ระยะเวลาการลงทุน
ลงทุนขั้นต่ำ 5 ปี (นับแบบวันชนวัน)
ลงทุนต่อเนื่อง
ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี
สินทรัพย์ที่ลงทุน
ลงทุนได้เฉพาะหุ้นไทย และตราสารหนี้ไทย ที่ดำเนินการตามหลักความยั่งยืน หรือ ESG โดยต้องได้รับการจัดอันดับจาก SET ESG Rating หรือ อยู่ในดัชนี ESG ที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล หรือระดับการประเมิน CG Rating ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors : IOD)
ข้อดี
- ระยะถือครองสั้นที่สุด เปรียบเทียบกับกองทุนลดหย่อนภาษีทุกประเภท
- มีวงเงินการลดหย่อนภาษีแยกจากกองทุนเพื่อการออม และกองทุนเพื่อการเกษียณรูปแบบอื่นๆ ออกมาอีก 300,000 บาท ทำให้สามารถลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีฐานภาษีสูง
- สนับสนุนบริษัทที่มีการดำเนินงานตามหลักความยั่งยืน
ข้อเสีย
- มีตัวเลือกการลงทุนที่จำกัดอยู่เฉพาะหุ้นไทยและพันธบัตรไทยไม่กี่ตัวที่ได้รับการจัดอันดับจาก SET ESG Rating หรือ CG Rating เท่านั้น
- ผลตอบแทนอาจไม่สูงเท่ากับกองทุนที่ลงทุนในกองทุน SSF/RMF ที่ลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
กองทุน SSF/RMF/ThaiESG เหมาะกับใคร
นอกจากปัจจัยด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว นักลงทุนอาจจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีกหลายปัจจัยว่าจะลงทุนกองทุน SSF/ RMF/ ThaiESG หรือไม่ หรือลงทุนในสัดส่วนเท่าไรของพอร์ตลงทุน เช่น กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน, ผลตอบแทนที่คาดหวัง, ความสามารถในการถือครอง, ความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุนในอนาคต เป็นต้น
1. กองทุน SSF
- เหมาะกับนักลงทุนที่ยังอายุไม่มาก ที่ไม่อยากลงทุนระยะยาวจนถึงอายุ 55 ปี
- หากฐานภาษีไม่สูง แนะนำให้ลงทุนในกองทุน SSF ให้ครบก่อนแล้วค่อยกระจายไปลงในกองทุน RMF, ThaiESG เนื่องจากมีระยะเวลาการถือครองที่สั้นกว่ากองทุน RMF, มีตัวเลือกกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายกว่ากองทุน ThaiESG และนักลงทุนกลุ่มนี้อาจจะยังไม่ต้องการวงเงินในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากกองทุน ThaiESG
2. กองทุน RMF
- สำหรับนักลงทุนอายุน้อย เหมาะกับนักลงทุนที่ตั้งเป้าสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนเพื่อวางแผนเกษียณในระยะยาว และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนที่นำมาลงทุนในระยะเวลาอันใกล้
- เหมาะกับนักลงทุนที่ใกล้อายุครบ 55 ปี เพราะระยะเวลาในการถือครองสั้นเพียง 5 ปีเท่านั้น หากอายุใกล้ครบ 55 ปีแล้ว หมายความว่าอาจจะไม่ต้องถือครองครบ 5 ปี ทั้งยังมีตัวเลือกในการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายกว่ากองทุน ThaiESG
3. กองทุน ThaiESG
- เหมาะกับนักลงทุนที่มีความสนใจลงทุนในหุ้นไทยและพันธบัตรไทย ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามหลักความยั่งยืนหรือ ESG
- เหมาะกับสำหรับนักลงทุนที่มีฐานภาษีสูง และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากกองทุนเพื่อการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณประเภทอื่นๆ จนครบถ้วนหมดแล้ว เนื่องจากกองทุน ThaiESG ทำให้นักลงทุนได้วงเงินในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมมาอีก 300,000 บาท
เกร็ดความรู้
รู้หรือไม่กองทุนลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทมีวิธีการนับระยะเวลาถือครองที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่
- นับแบบวันชนวัน คือ สามารถขายกองทุนได้เมื่อครบกำหนดตามเงื่อนไขนับจากวันที่ซื้อกองทุน โดยกองทุน SSF และ ThaiESG มีเงื่อนไขการนับระยะเวลาถือครองแบบนี้
ตัวอย่าง: ซื้อกองทุน SSF A 3 ครั้งในปี 2567 รวมมูลค่า 100,000 บาท
- ซื้อครั้งแรกวันที่ 10 เมษายน 2567 มูลค่า 20,000 บาท ก้อนนี้จะสามารถขายได้เมื่อครบกำหนด 10 ปีคือ วันที่ 11 เมษายน 2577 เป็นต้นไป
- ซื้อครั้งที่ 2 วันที่ 13 มิถุนายน 2567 มูลค่า 50,000 บาท ก้อนนี้จะสามารถขายได้เมื่อครบกำหนด 10 ปีคือ วันที่ 14 มิถุนายน 2577 เป็นต้นไป
- ซื้อครั้งที่ 3 วันที่ 27 ธันวาคม 2567 มูลค่า 30,000 บาท บาท ก้อนนี้จะสามารถขายได้เมื่อครบกำหนด 10 ปีคือ วันที่ 28 ธันวาคม 2577 เป็นต้นไป
- นับแบบปีปฏิทิน คือ สามารถขายกองทุนได้เมื่อครบกำหนดตามเงื่อนไขนับแบบวันชนวัน ปีชนปี และมองกองทุนทั้งก้อนโดยนับจากวันที่ลงทุนครั้งแรกเป็นสำคัญ กองทุน RMF มีเงื่อนไขการนับระยะเวลาถือครองแบบนี้
ตัวอย่าง: ถ้ามีอายุครบ 55 ปีในวันที่ 1 มกราคม 2567 และมีการซือกองทุน RMF B ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560 และมีการซื้ออย่างต่อเนื่องมาทุกปีในวันที่ 1 ธันวาคม ปี 2561, 2562, 2563, 2564, 2565, 2566 จะสามารถขายคืน RMF ทุกก้อนที่ซื้อมาได้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เนื่องจาก
- ณ วันที่ 2 มกราคม 2567 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว
- ถือครองกองทุน RMF ครบ 5 ปี (ครบเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565)
เริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีวันนี้ และลงทุนกองทุน SSF/RMF/ThaiESG ให้คุ้มค่ากว่าที่เคย ที่ Pi Financial App เลย