Macro View : Output GAP คืออะไร…มีความสำคัญไฉน

Published
Share this article:

Scope :

นักเศรษฐศาสตร์เวลากล่าวถึงผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) มักจะนิยมใช้วิธีดู Output gap มากขึ้นเพื่อคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและคาดการณ์การใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางที่เหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจในการรักษาสมดุลของระบบเศรษฐกิจระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
• Output gap คือการเปรียบเทียบระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง (Actual GDP) กับผลผลิตตามศักยภาพ (Potential GDP) ซึ่งจะพบว่ายากที่จะคาดการณ์ ประเมินผลผลิตตามศักยภาพได้ถูกต้องแม่นยำ อย่างไรก็ดีในบทวิเคราะห์ครั้งนี้เราอ้างอิงกับตัวเลขการประมาณโดย International Monetary Fund (IMF) ซึ่งกราฟด้านบน แกนขวาแสดงถึงตัวเลข Output gap as % of potential GDP
• เรานำข้อมูลอัตราส่วน Output gap as % of potential GDP (ข้างบน) ของญี่ปุ่นมานำเสนอครั้งนี้ คาดการณ์ล่าสุดตัวเลขเป็นบวก ตรงนี้น่าสนใจเพราะว่าตัวเลข Gap เป็นบวก หมายความว่าปัจจุบันผลผลิตของญี่ปุ่นกำลังมากกว่าศักยภาพ ทั้งนี้ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นเป็นแรงหนุนให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นนอกจากนี้แล้วสอดคล้องกับเราเชื่อว่าการฟื้นตัวของค่าจ้างที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
• การเจรจาค่าจ้างประจำปีสหภาพญี่ปุ่นนำไปสู่การปรับขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่สุดในรอบ 25 ปีสูงถึง 5.17% ข้อมูลรวบรวมโดย กระทรวงสุขภาพ แรงงานและสวัสดิการ เปิดเผยค่าจ้างที่แท้จริงญี่ปุ่นเดือน เม.ย. 2024 หดตัว -0.7%YoY จากระดับ -2.1%YoY ในเดือน มี.ค. 2024 ที่ผ่านมา แรงหนุนมาจากการปรับเพิ่มค่าจ้างประจำปี (Shunto wage) ทั้งนี้ตัวเลขทั้งสองสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ระดับสูงกว่าเป้าหมายธนาคารกลางที่ 2%

Pi Comment :

การควบคุมเงินเฟ้อเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นสำหรับหน้าที่ของธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นทำให้เราคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในช่วงครึ่งปีหลัง 2024 (25-50bps) หรืออาจใช้เครื่องมืออื่นเพิ่มเติม ทั้งนี้ 54% ของนักเศรษฐาสตร์ 50 ท่านที่รวบรวมโดย Bloomberg คาดการณ์ BOJ จะชะลอการเข้าซื้อพันธบัตรจากระดับราว 6 ล้านล้านเยนต่อเดือน ทั้งนี้ผลสำรวจ Bloomberg เชื่อว่า BOJ จะมีมาตรการเพิ่มเติมเนื่องจากค่าเงินอ่อนค่า