KKP (HOLD : Fair Price : Bt52.00) : ยังเน้นคุณภาพสินเชื่อ

Published
Share this article:

คงคำแนะนำ "ถือ" แต่ลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 52 บาท KKP รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/23 ที่น่าผิดหวังที่ 1.3 พันล้านบาท (-38.5% YoY, -9.0% QoQ) ฉุดจากขาดทุนการขายสินทรัพย์รอการขายที่สูงขึ้นและค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (OPEX) ที่เพิ่มขึ้น เราได้ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2023-25 ลง 18.3%/24.6%/23.4% เพื่อสะท้อนถึงผลประกอบการที่อ่อนแอและการปรับเพิ่มสมมติฐานค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ เราคาดว่ากำไรจะลดลง 22.8% ในปี 2023 ก่อนที่จะกลับมาโต 2.3%-11.3% ในปี 2024-225 ด้านราคาหุ้นปรับลดลงแรงราว 33% สะท้อนผลงานที่อ่อนแอและคุณภาพสินเชื่อที่ลดลง ขณะที่ยังไม่เห็นปัจจัยบวกสำคัญที่จะมาหนุนการเติบโตของกำไรขึ้นในระยะสั้นนี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงคงคำแนะนำ "ถือ" เพราะคาดถึงอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 5.4%/5.5%/6.1% สำหรับปี 2023-25

การประชุมนักวิเคราะห์

• ด้วยปัจจัยค้างคาเรื่องคุณภาพสินเชื่อที่ลดลง KKP จึงปรับลดเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อลงเป็น 6%-7% ในปี 2023 (+6.3% YTD ในงวด 9 เดือน) จากเดิมที่ 10% เพราะธนาคารเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อทะเบียนรถ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการก่อตัวของหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) นอกจากนี้ทางธนาคารยังปรับเพิ่มตัวเลขแนวทางค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญขึ้นเป็น 294 bps (294bps ในงวด 9 เดือน) จากเดิมที่ 2.6%-2.8% เพราะผลขาดทุนจากการขายรถยึดที่สูงขึ้น แม้ KKP จะคาดถึงยอดขายรถมือสองที่ลดลงในไตรมาส 4/23 แต่ราคารถมือสองก็ปรับลดลงเช่นกัน ทำให้ยากที่จะประเมินถึงผลขาดทุนทั้งหมดจากการขายรถยึด KKP ชี้แจงว่าสินเชื่อที่มีปัญหาส่วนใหญ่คือก้อนที่มาจากปี 2022 ทั้งนี้ ธนาคารอาจเปิดเผยค่าความสูญเสียด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจดีกว่าคาด

• ส่วนเป้าหมายสำคัญที่ยังคงเดิมคือ 1) อัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ) ที่ 11%-12% 2) ส่วนต่างดอกเบี้ยสินเชื่อ 5% และ 3) NPL ratio ที่ <3.5% (ไตรมาส 3/23 ที่ 3.5%)

• KKP อาจพิจารณาปรับเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเพราะมีเงินทุนขั้นที่ 1 ที่แข็งแกร่ง บวกกับกลยุทธ์การชะลอการเติบโตของสินเชื่อ

คาดกำไรกลับมาโตในปี 2024

• เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2023-25 ลง 18.3%/24.6%/23.4% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงการเติบโตของสินเชื่อที่ชะลอตัวลง และคาดการณ์ถึงผลขาดทุนสินทรัพย์รอการขายที่สูงขึ้น

• เราปรับเพิ่มสมมติฐานค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ (รวมขาดทุนสินทรัพย์รอการขาย) เป็น 283/255/245 bps สำหรับปี 2023-25 (จาก 248/229/219 bps)

• เพื่อสะท้อนถึงการปรับสมมติฐาน เราจึงคาดว่ากำไรสุทธิปี 2023 จะลดลง 22.8% YoY ขณะที่คาดว่าจะกลับมาโต 2.3%-11.3% ในปี 2024-25 ตามลำดับ

คงคำแนะนำ "ถือ" และลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 52 บาท

เราปรับลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 52 บาท (จาก 59 บาท) เพื่อสะท้อนถึงการปรับลดประมาณการกำไรลง มูลค่าพื้นฐานของเราคำนวณด้วยวิธี GGM model (ROE 9.5%, TG 2%) อิง 0.68x PBV’24E