รู้จัก Lifestyle Inflation ทำไมเงินเดือนเพิ่ม แต่เงินเก็บไม่เพิ่มตาม?

Published
Share this article:
Thai Equity
Global Equity
banner image

รู้จัก Lifestyle Inflation ทำไมเงินเดือนเพิ่ม แต่เงินเก็บไม่เพิ่มตาม?

ทุกวันนี้การใช้ชีวิตหรูหราแบบ Luxury หรือที่หลายๆ คนพูดติดปากกันว่าชีวิตติดแกลม เป็นกระแสในโลกโซเชียลอย่างหนัก เหล่า Influencer ทั้งหลายต่างลุกขึ้นมาทำคอนเทนท์อวด Lifestyle สุดหรูที่ทำให้หลายคนต่างอิจฉา และอยากมีชีวิตแบบนั้นบ้าง จนเกิดเป็นค่านิยมที่ว่า หาเงินเก่ง แต่ใช้เงินเก่งกว่า คำพูดยอดฮิตที่อธิบายปรากฏการณ์ Lifestyle Inflation ได้ตรงใจสุด ๆ แล้ว Lifestyle Inflation คืออะไร และเราจะรับมือกับมันอย่างไร? วันนี้ Pi Knowledge จะพาคุณไปหาคำตอบพร้อมกัน!

Lifestyle Inflation คืออะไร?

Lifestyle Inflation หรือที่บางคนเรียกว่า "ภาวะเงินเดือนขึ้น แต่เงินเก็บไม่ขยับ" คือพฤติกรรมที่เมื่อรายได้เราเพิ่มขึ้น เราก็ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อยกระดับชีวิตให้ดูดี สะดวก หรือหรูหราขึ้นแบบไม่รู้ตัว

แม้จะฟังดูไม่ผิด แต่ถ้าไม่ระวัง ภาวะนี้อาจทำให้แม้เงินเดือนขึ้นเท่าไหร่ เงินเก็บก็ยังคงเท่าเดิม หรือแย่กว่านั้นคือ “ติดลบ” ได้!

ยกตัวอย่าง Lifestyle Inflation แบบเห็นภาพ

กาแฟแก้วเดิม แต่แพงขึ้น

  • ตอนยังเรียนหรือเริ่มทำงาน ดื่มกาแฟข้างทาง ราคา 30 บาท
  • เงินเดือนเพิ่มขึ้น → เปลี่ยนมาดื่ม Starbucks แก้วละ 150 บาททุกเช้า
  • คำนวณแล้ว จากเดือนละ 900 บาท → กลายเป็น 4,500 บาท เพิ่มขึ้นถึง 3,600 บาทต่อเดือน!
  • เพียงแค่พฤติกรรมเล็ก ๆ แบบนี้ หากสะสมไปเรื่อย ๆ ก็กลืนเงินเก็บของเราไปอย่างเงียบ ๆ

Lifestyle Inflation ไม่ใช่เรื่องผิด

ขอย้ำตรงนี้เลยว่า Lifestyle Inflation ไม่ใช่สิ่งที่ผิด!
เพราะการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นหลังจากทำงานหนักมานาน เป็นเรื่องที่ทุกคนคู่ควร

หากคุณ สามารถบริหารจัดการรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

  • มีเงินเก็บสม่ำเสมอ
  • มีเงินลงทุนต่อเนื่อง
  • ใช้จ่ายในสิ่งที่เติมเต็มชีวิต

การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพื่อซื้อความสะดวกสบายมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Lifestyle Inflation ก็ไม่ใช่เรื่องต้องกังวลเลย เพราะคุณมีการจัดสรรสัดส่วนการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผล

ทางออกของ Lifestyle Inflation

เราไม่จำเป็นต้อง “งดกาแฟ” หรือ “เลิกเที่ยว” ให้ชีวิตไร้ความสุข แต่เพียงแค่ต้อง “วางแผน” อย่างชาญฉลาด

หลักการง่าย ๆ คือ รายได้เพิ่ม → เก็บเพิ่มก่อน แล้วค่อยเพิ่มการใช้จ่าย

เทคนิคจัดการง่าย ๆ

  • แบ่งสัดส่วนเงินก่อนใช้: เงินเก็บ / เงินลงทุน / เงินใช้จ่าย
  • ตั้งงบประมาณสำหรับ “รางวัลชีวิต” แบบชัดเจน
  • ใช้จ่ายเพื่อความสุข โดยไม่กระทบอนาคตทางการเงิน

หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก Lifestyle Inflation

รู้หรือไม่ว่า? ภาวะ Lifestyle Inflation ส่งผลดีต่อหุ้นบางกลุ่มทั้งในไทยและต่างประเทศ มาดูกันว่ามีกลุ่มไหนบ้าง

หุ้นไทยที่ได้อานิสงส์

  • กลุ่มบัตรเครดิต / สินเชื่อส่วนบุคคล เช่น KTC, AEONTS ยิ่งคนรูดบัตรเยอะ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมก็เพิ่มขึ้น
  • ธนาคารใหญ่ ๆ เช่น SCB, KBANK, BBL ยิ่งคนกู้มาก เปิดบัญชีมาก รายได้ของธนาคารก็เติบโต
  • ค้าปลีก / ห้างสรรพสินค้า / ของแบรนด์ เช่น CPN, CRC, COM7 ยิ่งคนอัปเกรดไลฟ์สไตล์ ยอดขายร้านค้าก็พุ่ง
  • สินค้าตกแต่งบ้านหรู เช่น HMPRO, DOHOME, ILM ยิ่งคนมีเงินพร้อมแต่งบ้าน ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ๆ มากขึ้น ธุรกิจเหล่านี้ก็เติบโต

หุ้นต่างประเทศที่ได้อานิสงส์

  • บริษัทบัตรเครดิตระดับโลก เช่น Mastercard (MA), Visa (V) ปริมาณการรูดบัตรที่เพิ่มขึ้นหนุนรายได้
  • Luxury Brands เช่น LVMH, Hermès คนมีเงินชอบซื้อของพรีเมียมเพื่อแสดงสถานะ
  • อีคอมเมิร์ซ & เทคโนโลยีค้าปลีก เช่น Amazon, Apple, Shopify การใช้จ่ายออนไลน์สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • บริษัทท่องเที่ยว / สายการบิน เช่น Booking Holdings, Airbnb, Delta Air Lines ไลฟ์สไตล์ดีขึ้น เที่ยวมากขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวก็บูมตาม

Lifestyle Inflation คือดาบสองคมของคนทำงานรุ่นใหม่ อย่าปล่อยให้ความสุขชั่วคราวมาทำร้ายอนาคตทางการเงินของคุณ เพียงแค่ วางแผนรายได้-รายจ่ายให้สมดุล เก็บเงินก่อนใช้เงิน และเลือกลงทุนอย่างชาญฉลาด คุณก็สามารถมีชีวิตที่ดี พร้อมอนาคตที่มั่นคงได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะ หุ้นไทย หรือหุ้นต่างประเทศ ก็ลงทุนได้ที่แอป Pi Financial

คำเตือน

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

About Author

profile icon
Pi Content Team
Pi Securities Public Company Limited